วันเสาร์ที่ 11 เมษายน พ.ศ. 2563

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 1 
วันที่ 20 เดือน มกราคม พ.ศ. 2563

👶👶👶👶👶👶👶👶👶👶👶👶👶👶👶👶👶👶👶👶👶


ความรู้ที่ได้รับ

💆 คำศัพท์น่ารู้ 💆                                                                         

  1. Problem Solving     การแก้ปัญหา
  2. Critical Thingking   การคิดเชิงวิเคราะห์
💘 เกร็ดความรู้ 💘
     กระบวนหารทำงานของสมอง
     รับรู้ผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5  รับรู้  ซึมซับ ⇒ ประมวลผล  ปรับโครงสร้าง  ความรู้ใหม่   หยิบความรู้ใหม่มาใช้ ทำให้เด็กเกิดกระบวนการเรียนรู้


ครั้งที่ 1 บทนำการพัฒนาการคิด

     การคิด หมายถึง กระบวนการของสมองที่แสดงออกผ่านการพูด เขียน พฤติกรรม ผลงาน / ชิ้

นงาน
     ความสำคัญของการคิด คือ 
  1. เป็นต้นทุนเพื่อพัมนาให้เด็กได้มีประสบการณ์ในการตัดสินใจ (wroking mamory) ทำให้เด็กมีต้นทุนในการแก้ไขปัญหา
  2. ใช้ในการหาคำตอบจากสิ่งรอบตัวที่อยากรู้ เลือกในการตัดสินใจในสิ่งที่เหมาะสมต่อตนเอง
      องค์ประกอบของความคิดสร้างสรรค์ : Guilford (1967 : 145-151)
  1. ความคิดริเริ่ม (Originality) หมายถึง ความคิดแปลกใหม่ไม่ซ้ำกันกับความคิดของคนอื่น และแตกต่างจากความคิดธรรมดา
  2. ความคิดคล่องแคล่ว (Fluency) หมายถึง ปริมาณความคิดที่ไม่ซ้ำกันในเรื่องเดียวกัน
  3. ความคิดยืดหยุ่น (Flexibility) หมายถึง ประเภทหรือแบบของการคิด
  4. ความคิดละเอียดละออ (Elaboration) หมายถึง ความคิดในรายละเอียดเป็นขั้นตอน สามารถอธิบายให้เห็นภาพชัดเจน หรือเป็นแผนงานที่สมบูรณ์ขึ้น
     ลักษณะพฤติกรรมของนักคิด ประกอบด้วย
  1. คิดต่างหรือคิดนอกกรอบ คือ การฝึกให้ตัวเองคิดอะไรที่ไม่เคยคิดมาก่อน
  2. คิดล่วงหน้า คือการฝึกมองล่วงหน้าว่าจะมีอะไรเกิดขึ้นบ้าง สิ่งนั้นจะส่งผลกับเรามากน้อยแค่ไหน
  3. การคิดทางเลือก คือ การรู้จักเปรียบเทียบข้อดี-ข้อเสียของสิ่งที่เรากำลังจะตัดสินใจ
  4. การคิดแบบสร้างสรรค์ หมายถึง การคิดสิ่งที่เราทำ เห็น เป็น และคุ้นเคยในรูปแบบใหม่
  5. การคิดวิเคราะห์สาเหตุได้ถูกต้อง คือ รากฐานของการแก้ปัญหาอย่างยั่งยืน เพราะเราไม่มีทางแก้ปัญหาได้หากเราไม่รู้ว่าต้นต่อของปัญหา
  6. คิดเชื่อมโยง คือ ความสามารถในการเชื่อมโยง ประสบการณ์และความรู้ต่าง ๆ จากหลายแหล่ง มาร้อยเรียงเพื่อให้เห็นภาพใหญ่
  7. คิดท้าทายกับปัญหา เราจะแก้ปัญหาไม่ได้ถ้าไม่รู้จักตั้งคำถามที่ท้าทายกับปัญหาที่อยู่ตรงหน้า
  8. คิดเป็นเหตุเป็นผล คือ การที่สามรถคิดย้อนไปถึงสาเหตุของเรื่องที่เกิดขึ้น ณ ปัจจุบันได้ ว่าเพราะอะไรและทำไมถึงเกิดสิ่งนี้ขึ้นมาในปัจจุบัน การคิดย้อนจริงๆ ต้องคิดย้อนขึ้นไปหลายขั้น จนกว่าจะเจอสาเหตุที่แท้จริง
  9. คิดเท่าที่จำเป็น หมายถึงความสามารถของการรู้อย่างชัดเจนว่าเรื่องต่าง ๆ ต้องการข้อมูลมากน้อยแค่ไหนจึงจะสำหรับการตัดสินใจ
  10. การคิดบทสรุป หมายถึง การคิดหาคำตอบที่เกิดจากการตัดสินใจที่จะทำหรือไม่ทำอะไร หรือผลสรุปของเรื่องใดเรื่องหนึ่งที่เกิดจากการตกผลึกทางความคิดยืนยันว่าของแบบนี้ฝึกกันได้
     การคิดแบบอริยสัจ 4
     ขั้นที่ 1. ทุกข์ คือสภาพปัญหา ความคับข้อง ติดขัด กดดัน บีบคั้น บกพร่อง ที่เกิดมีแก่ชีวิตหรือ ที่คนได้ประสบ
     ขั้นที่ 2. สมุทัย คือเหตุเกิดแห่งทุกข์ หรือสาเหตุของปัญหาได้แก่ เหตุปัจจัยต่างๆที่เข้าสัมพันธ์ ขัดแย้ง ส่งผลสืบทอดกันมาจนปรากฏเป็นสภาพบีบคั้น กดดัน 
     ขั้นที่ 3 นิโรธ คือความดับทุกข์ ความพ้นทุกข์ ภาวะไร้ทุกข์ภาวะพ้นปัญหา หมดหรือปราศจาก ปัญหาเป็นจัดหมายที่ต้องการ
     ขั้นที่ 4 มรรค คือ ทางดับทุกข์ ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์หรือวิธีแก้ไขปัญหา ได้แก่วิธีการ และรายละเอียดสิ่งที่จะต้องปฏิบัติ เพื่อกำจัดเหตุปัจจัยของปัญหา ให้เข้าถึงจุดหมายที่ต้องการ
     
     วิธีการคิดทางวิทยาศาสตร์ 5 ขั้นตอน ประกอบด้วย
     ขั้นที่ 1 ตั้งปัญหา
     ขั้นที่ 2 เก็บรวบรวมข้อมูลหรือข้อเท็จจริง
     ขั้นที่ 3 สร้างสมมติฐาน
     ขั้นที่ 4 ทดลองพิสูจน์
     ขั้นที่ 5 สรุปผล

     การคิดอย่างเป็นระบบ
     การคิดอย่างเป็นระบบ (System Thinking) หมายถึง วิธีการคิดอย่างมีระบบ มีเหตุมีผลทำให้ผลของการคิดหรือผลของการแก้ปัญหาที่ได้นั้นมีความถูกต้อง แม่นยา และรวดเร็ว วิธีการคิดอย่างเป็นระบบจะเป็นหนทางไปสู่การเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ (Learning Organization) ถ้าองค์กรนั้นๆ นำไปใช้อย่างมีประสิทธิภาพ

     การคิดเชิงบวกเชิงลบ
     การคิดเชิงบวก คือ การพยายามหามุมมองที่แตกต่างออกไปจากมุมมองปกติของเรา มองให้สร้างสรรค์และเป็นประโยชน์กับตนเองและผู้อื่น
     การคิดเชิงลบ คือ การตัดสินเหตุการณ์ทั้งที่เกิดขึ้นและยังไม่เกิดขึ้นในทางที่ไม่สร้างสรรค์

รูปภาพประกอบกิจกรรมการเรียนการสอน



การออกแบบท่าทางด้วยความคิดสร้างสรรค์

การต่อเติมภาพจากเลข 1-9 ด้วยความคิดสร้างสรรค์

การประเมินผู้สอน : ผู้สอนมีเทคนิคการสอนที่ดี มีกิจกรรมให้ทำระหว่างเรียน เป็นกันเอง สนุกสนาน
การประเมินเพื่อน : เพื่อนให้ความร่วมมือในการเรียนและทำกิจกรรมเป็นอย่างดี
การประเมินตนเอง : เข้าเรียนตรงเวลา แต่งตัวเรียบร้อย ตั้งใจเรียนและทำกิจกรรมเป็นอย่างดี

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น