วันเสาร์ที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2563

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 11
วันที่ 24 เดือน เมษายน พ.ศ. 2563

😈😈 ความรู้ที่ได้รับ 😈😈

บทที่ 9 การวัดและประเมินพัฒนาการทางความคิดสร้างสรรค์

           การวัดและประเมินพัฒนาการทางความคิดสร้างสรรค์ เป็นกระบวนการที่่่่่่่่่่่่่่่่่่่่่่่่่่่่่่่่่่่ต่อเนื่อง โดยถือเป้น่วนหนึ่งของกิจกรรมที่จัดให้เด็กเรียนรู้ในแต่ละครั้ง เพื่อนำข้อมูลหรือผลที่ได้มาปรับปรุงและพัฒนาการจัดการสอนให้เหมาะสมกับพัฒนาการของเด็กรวมทั้งความคิดสร้างสรรค์ด้วย
          หลักของการวัดและประเมินผลพัมนาการ
1. บรรยากาศของการวัดและประเมินผลต้องผ่อนคลาย ไม่เคร่งเครียดจนทำให้เด็กเกิดความเครียด
2. ต้องไม่ใช่การแข่งขันหรือการกระทำที่มีถูกมีผิด
3. ครูไม่นำผลการวัดหรือการทดสอบมาเปรียบเทียบกับเด็กคนอื่น
4. นำผลที่ได้จากการวัดมาวิเคราะห์เพื่อจัดกิจกรรมส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ของเด็กได้อย่างเหมาะสม
          ความสำคัญและคุณค่าของการวัดและประเมินความคิสร้างสรรค์ เพื่อนำผลมาจัดประสบการณ์และกิจกกรรมให้สอดคล้องเหมาะสมกับพัมนาความคิดสร้างสรรค์สำหรับเด็กต่อไป
          เทคนิควิธีวัดความคิดสร้างสรรค์
1. การสังเกต หมายถึง การสังเกตพฤษติกรรมของบุคคลที่แสดงออกเชิงความคิดสร้างสรรค์
2. การวาดภาพ หมายถึง การให้เด็กวาดภาพจากสิ่งเร้าที่กำหนด เป็นการถ่ายทอดความคิดสร้างสรรค์ออกมาเป็นรุปธรรมชาติและสามารถสื่อความหมายได้
3. รอยหยดหมึก หมายถึง การให้เด็กดูภาพหยดหมึกแล้วคิดตอบจากภาพที่เด็กเห็น
4. การเขียนเรียงความและงานศิลปะ หมายถึง การให้เขียนเรียงความจากหัวข้อที่กำหนด และการประเมินจากงานศิลปะของนักเรียน
5.. แบบทดสอบ หมายถึง การให้เด็กทำแบบทดสอบความคิดสร้างสรรค์มาตรฐาน ซึ่งเป็นผลมาจากวิจัยเกี่ยวกับธรรมชาติของความคิดสร้างสรรค์
         กิจกกรมที่ทำระหว่างเรียน คือ นำเสนอสื่อะรรมชาติ 4 อย่าง และแต่ละอย่างทำอย่างไร พัฒนาความคิดสร้างสรรค์อย่างไร ซึ่งดิฉันได้ตอบดังนี้



          รูปภาพประกอบ๘ณะทำการเรียนการสอนผ่าน App Zoom




การประเมินผู้สอน : อาจารย์อธิบายเข้าใจง่าย มีเทคนิคที่ทำให้นักศึกษาจำข้อมูลได้แม่นยำ ใส่ใจนักศึกษาทุกคน
การประเมินเพื่อน : เพื่อนเข้าเรียนใน App Zoom ตรงเวลา ร่วมแสดงความคิดเห็น ตอบคำถาม และทำกิจกรรมตามที่ได้รับมอบหมาย
การประเมินตนเอง : เข้าเรียนตรงเวลา ตั้งใจฟังขณอาจารยฺอธบิยเนื้อหา ร่วมแสดงความคิดเห็น ตอบคำถาม และทำกิจกรรมตามที่ได้รับมอบหมาย 
บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 5
วันที่ 9 เดือน มีนาคม พ.ศ. 2563

💀💀💀💀💀💀💀💀💀💀💀💀💀💀💀💀💀💀💀💀💀💀💀💀💀💀💀💀

👳👳 ความรู้ที่ได้รับ 👳👳

     👉👉👉 เราต้องเป็นคนสร้างสรรค์ กล้าลงมือกระทำ พากเพียรให้เกิดความคล่องแคล่ว ยืดหยุ่นและคิดบวก สร้างชิ้นงานใหม่หรือต่อยอดงานเดิม
      ความคิดสร้างสรรค์ (Creative) คือ 
     Torrance (1962 : 16) กล่าวว่า ความคิดสร้างสรรค์เป็นความสามารถของบุคคลในการคิดสร้างสรรค์ผลิตผล หรือสิ่งแปลกๆ ใหม่ๆ ที่ไม่รู้จักมาก่อน ซึ่งสิ่งต่างๆ เหล่านี้อาจจะเกิดจากการรวมความรู้ต่างๆ ที่ได้รับจากประสบการณ์แล้วเชื่อมโยงกับสถานการณ์ใหม่ๆ สิ่งที่เกิดขึ้นแต่ไม่จำเป็นสิ่งสมบูรณ์อย่างแท้จริง ซึ่งอาจออกมาในรูปของผลผลิตทางศิลปะ วรรณคดี วิทยาศาสตร์
     Wallach and Kogan (1965 : 13-20) ให้ความหมายของความคิดสร้างสรรค์ว่า หมายถึงความคิดโยงสัมพันธ์ (Association) คนที่มีความคิดสร้างสรรค์ คือ คนที่สามารถจะคิดอะไรได้อย่างสัมพันธ์เป็นลูกโซ่
    สรุป ความคิดสร้างสรรค์ คือ การคิดสร้างสรรค์สิ่งที่แปลกใหม่ขึ้นมาหรือต่อยอดจากความคิดเดิม โดยใช้ประสบการณ์เดิมเชื่อมโยงกับประสบการณ์ใหม่ เพื่อให้ได้ความคิดหรือผลงานชิ้นใหม่ขึ้นมา
     
     Guilford (1967 : 145-151) ได้ให้รายละเอียดเกี่ยวกับองค์ประกอบของความคิดสร้างสรรค์ไว้ดังนี้
  1. ความคิดริเริ่ม (Originality) หมายถึง ความคิดแปลกใหม่ไม่ซ้ำกันกับความคิดของคนอื่น และแตกต่างจากความคิดธรรมดา ความคิดริเริ่มอาจเกิดจากการคิดจากเดิมที่มีอยู่แล้วให้แปลกแตกต่างจากที่เคยเห็น หรือสามารถพลิกแพลงให้กลายเป็นสิ่งที่ไม่เคยคาดคิด ความคิดริเริ่มอาจเป็นการนำเอาความคิดเก่ามาปรุงแต่งผสมผสานจนเกิดเป็นของใหม่
  2. ความคิดคล่องแคล่ว (Fluency) หมายถึง ปริมาณความคิดที่ไม่ซ้ำกันในเรื่องเดียวกัน
  3. ความคิดยืดหยุ่น (Flexibility) หมายถึง ประเภทหรือแบบของการคิด
  4. ความคิดละเอียดละออ (Elaboration) หมายถึง ความคิดในรายละเอียดเป็นขั้นตอน สามารถอธิบายให้เห็นภาพชัดเจน หรือเป็นแผนงานที่สมบูรณ์ขึ้น
     EF = (Executive Function) คือ การทำงานของสมองด้านการจัดการ ซึ่งมีอิธิพลต่อความสำเร็จในชีวิต โดยอาศัยกระบวนทางปัญญา (cognitive process) ต่างๆ เช่น การยับยั้งความคิด การแก้ปัญหา การวางเป้าหมาย การวางแผนไปสู่เป้าหมายที่วางไว้ (goal - directed behavior)
   EF (Executive Function)  ที่สำคัญมีทั้งหมด 9 ด้าน
     1. ทักษะความจำที่นำมาใช้งาน (Working Memory) คือ ทักษะจำหรือเก็บข้อมูลจากประสบการณ์ที่ผ่านมาและดึงมาใช้ประโยชน์ตามสถานการณ์ที่พบเจอ
     2. ทักษะการยับยั้งชั่งใจ-คิดไตร่ตรอง (Inhibitory Control) คือ ความสามารถในการควบคุมความต้องการของตนเองให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม เด็กที่ขาดความยับยั้งชั่งใจจะเหมือน "รถที่ขาดเบรก" อาจทำสิ่งใดโดยไม่คิด มีปฏิกิริยาในทางที่ก่อให้เกิดปัญหาได้
     3. ทักษะการยืดหยุ่นความคิด (Shift Cognitive Flexibility) คือ ความสามารถในการยืดหยุ่นหรือปรับเปลี่ยนให้เหมาะสมกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นได้ ไม่ยึดตายตัว
     4. ทักษะการใส่ใจจดจ่อ (Focus) คือ ความสามารถในการใส่ใจจดจ่อ มุ่งความสนใจอยู่กับสิ่งที่ทำอย่างต่อเนื่องในช่วงเวลาหนึ่ง
     5. การควบคุมอารมณ์ (Emotion Control) คือ ความสามารถในการควบคุมแสดงออกทางอารมณ์ให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม เด็กที่ควบคุมอารมณ์ตัวเองไม่ได้มักเป็นคนโกรธเกรี้ยว ฉุนเฉียวและอาจมีอาการซึมเศร้า
     6.การประเมินตัวเอง (Self-Monitoring) คือ การสะท้อนการกระทำของตนเอง รู้จักตนเอง รวมถึงการประเมินการงานเพื่อหาข้อบกพร่อง
     7. การริเริ่มและลงมือทำ (Initiating) คือ ความสามารถในการริเริ่มและลงมือทำตามที่คิด ไม่กลัวความล้มเหลว ไม่ผัดวันประกันพรุ่ง
     8. การวางแผนและการจัดระบบดำเนินการ (Planning and Organizing) คือ ทักษะการทำงาน ตั้งแต่การตั้งเป้าหมาย การวางแผน การมองเห็นภาพรวม ซึ่งเด็กที่ขาดทักษะนี้จะวางแผนไม่เป็น ทำให้งานมีปัญหา
     9. การมุ่งเป้าหมาย (Goal-Directed Persistence) คือ ความพากเพียรมุ่งสู่เป้าหมาย เมื่อตั้งใจและลงมือทำสิ่งใดแล้ว ก็มีความมุ่งมั่นอดทน ไม่ว่าจะมีอุปสรรคใดๆ ก็พร้อมฝ่าฟันให้สำเร็จ

      💚💚💚 อาจารย์ให้ทำกิจกรรมความคิดสร้างสรรค์ ดังรูปภาพกิจกรรมต่างๆ ด้านล้าง ⇓⇓⇓ และสามารถนำไปปรับใช้กับเด็กได้ เพราะ มีเงื่อนไข ทำให้เด็กได้คิดแก้ไขปัญหาและต่อยอดความรู้เดิม

อาจารย์กำลังอธิบายขั้นตอนการทำกิจกรรม


กิจกรรมที่ 1 วาดเส้นตามความคิดสร้างสรรค์และระบายสีส่วนที่เส้นตัดกัน


กิจกรรมที่ 2 วาดภาพต่อเติมจากเส้นที่กำหนดให้



กิจกรรมที่ 3 ระบายสีสามสีที่แต่ละช่องโดยใช้ความคิดสร้างสรรค์



กิจกรรมที่ 4 แตะสัมผัส



การประเมินผู้สอน : ผู้สอนมีกิจกรรมแปลกใหม่ไม่ซ้ำกันมาให้ทำในทุกสับดาห์
การประเมินเพื่อน : เพื่อนเข้าเรียนตรงเวลา แต่งตัวเรียบร้อย ทำกิจกรรมต่างๆ ด้วยความตั้งใจ
การประเมินตนเอง : เข้าเรียนตรงเวลา แต่งตัวเรียบร้อย ตื่นเต้นและสนุกที่ได้ทำกิจกรรมที่อาจารย์จัดขึ้นในระหว่างเรียน

วันพุธที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2563

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 3
วันที่ 3 เดือน กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563

💀💀💀💀💀💀💀💀💀💀💀💀💀💀💀💀💀💀💀💀💀💀💀💀💀💀💀💀💀💀💀💀💀

💗💗 ความรู้ที่ได้รับ 💗💗
      
      อาจารย์อธิบายถึงความคิดสร้างสรรค์เกี่ยวกับเด็กปฐมวัย หมายถึง ความคิดที่สามารถในการสังเคราะห์สามารถในวิเคราะห์และและมีความสามารถในนำไปปฏิบัติได้มีลักษณะเป็นความรวมความคิดหลายทางและมีลักษณะคล้ายๆกับกระบวนการแก้ ปัญหามีความแตกต่างเพียงกระบวนการแก้ปัญหามีนั้นจะมีวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้เด่นชัดเฉพาะเรื่องแต่กระบวนการคิดสร้างสรรค์ จำเป็นที่บุคคลจะต้องรู้จักจินตนาการและถ้าขาดจินตนาการก็จะไม่สามารถแก้ปัญหาทางความคิดสร้างสรรค์ได้ความคิดสร้างสรรค์ประการสำคัญผู้คิดนั้นจะต้องไม่ทุกข์ ในความคิดสร้างสรรค์จะต้องสร้างความสุขด้วย
จึงจะเป็นความสร้างสรรค์ เป็นความคิดสร้างสุข โดยมีธรรมฉันทะเป็นตัวขับเคลื่อนกระบวนการคิด
      องค์ประกอบของความคิดสร้างสรรค์
     1 .ความคิดริเริ่ม คือ มีความคิดที่แปลกใหม่ แตกต่างไปจากความคิดแบบเดิมๆ ชอบปรับปรุงเปลี่ยนแปลง กล้าคิดกล้าแสดงออก
    2. ความคิดคล่องตัวคือ ปริมาณความคิดที่มีหลากหลายคำตอบในเรื่องเดียวกัน และการแก้ไขปัญหาได้อย่างรวดเร็ว
    3. ความคิดยืดหยุ่น คือ รูปแบบการคิดที่ไม่ตายตัว คิดได้หลายประเภทหลายทิศทางและหลายแง่หลายมุมอย่างอิสระ
   4. ความคิดละเอียดลออ คือ การให้รายละเอียดต่อความคิดนั้นได้อย่างครบถ้วน รอบด้าน สามารถผสมผสานทำให้เกิดสิ่งใหม่ๆ ขึ้นมาได้
      อาจารย์ให้ทำกิจกรรมเกี่ยวกับความคิดสร้างสรรค์ คือการถามเกี่ยวกับว่า เราใช้ปากกาทำอะไรได้บ้างนอกจากเขียนหนังสือ แล้วเขียนคำตอบลงในกระดาษที่แจกให้ 


รูปภาพประกอบขณะทำกิจกรรมต่างๆ ภายในห้องเรียน

อาจารย์ถามเกี่ยวกับกิจกรรมความคิดสร้างสรรค์รายบุคค

เราใช้ปากกาทำอะไรได้บ้า (กิจกรรมความคิดสร้างสรรค์)

อาจารย์แจกเชือกที่มีความยาวต่างกันแล้วให้นำมาต่อกันเป็นรูปร่างต่างๆ เช่น เรือ ฯ

วาดรูปต่อเติมจากเลข 1-9 


การประเมินผู้สอน : เข้าสอนตรงเวลา แต่งตัวสวยงาม อธิบายเนื้อหาสาระต่างๆ ได้ละเอียด และมีกิจกรรมสร้างสรรค์ต่างๆ มาให้ทำ
การประเมินเพื่อน : เพื่อนเข้าเรียนตรงเวลา แต่งตัวเรียบร้อย ตั้งเรียนและทำกิจกรรม
การประเมินตนเอง : เข้าเรียนตรงเวลา แต่งตัวเรียบร้อย มีประสบการณ์ความคิดสร้างสรรค์เพิ่มขึ้น และได้ลองทำกิจกรรมสร้างสรรค์ใหม่ๆ ที่อาจารย์จัดขึ้น

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 7
วันที่ 27 เดือน มีนาคม พ.ศ. 2563

👶👶👶👶👶👶👶👶👶👶👶👶👶👶👶👶👶👶👶👶👶👶👶👶👶


👾 ความรู้ที่ได้รับ 👾

STEM สำหรับเด็กปฐมวัย
     วิทยาศาสตร์ หมายถึง ความรู้เกี่ยวกับสิ่งต่างๆ ในธรรมชาติทั้งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิต รวมทั้งกระบวนการประมวลความรู้เชิงประจักษ์ ที่เรียกว่ากระบวนการทางวิทยาศาสตร์ และกลุ่มขององค์ความรู้ที่ได้จากกระบวนการดังกล่าว
     วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย คือ  สาระเกี่ยวกับธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมรอบตัวเด็กที่เด็กควรรู้ การเรียนการสอนมุ่งเพื่อให้เด็กเกิดความเข้าใจมากกว่าที่จะจำเป็นองค์ความรู้  การเรียนวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยแตกต่างจากเด็กวัยอื่นที่เด็กปฐมวัยมีการเจริญของสมองที่รวดเร็วและต้องการการกระตุ้นเพื่อการงอกงามของใยสมองในช่วงปฐมวัย 
     ทักษะทางวิทยาศาสตร์ ประกอบด้วย

  • การสังเกต
  • การจำแนกแยกแยะ
  • การบอกคุณลักษณะ
  • การจัดประเภท
  • การสืบค้น
  • การเก็บข้อมูล
  • การแปลข้อมูล
  • การสื่อสารผลที่ได้รับ
  • การสรุปข้อมูล
      วิศวกรรมศาสตร์ เป็นสาขาความรู้และวิชาชีพเกี่ยวกับการประยุกต์ใช้ประยุกตวิทยา (เทคโนโลยี), วิทยาศาสตร์และความรู้ทางคณิตศาสตร์ เพื่อการใช้ประโยชน์จากกฎทางธรรมชาติและทรัพยากรทางกายภาพให้เกิดประโยชน์สูงสุด, เพื่อช่วยในการออกแบบและประยุกต์ใช้ วัสดุโครงสร้างเครื่องจักรเครื่องมือระบบ และ กระบวนการ เพื่อการตอบสนองต่อจุดประสงค์ที่ต้องการได้อย่างปลอดภัยและเชื่อถือได้ American Engineers' Council for Professional Development (ECPD, ซึ่งต่อมาคือ ABET) ได้ให้นิยามเกี่ยวกับวิศวกรรมศาสตร์เอาไว้

       9 สาขาของหลักสูตร “วิศวกรรมศาสตร์” ประกอบด้วย

  • วิศวกรรมคอมพิวเตอร์ (Computer Engineering)
  • วิศวกรรมการบินและอวกาศ (Aerospace Engineering)
  • วิศวกรรมอุตสาหการ (Industrial Engineering)
  • วิศวกรรมไฟฟ้า (Electrical Engineering)
  • วิศวกรรมเครื่องกล (Mechanical Engineering)
  • วิศวกรรมโยธา (Civil Engineering)
  • วิศวกรรมชีวการแพทย์ (Biomedical Engineering)
  • วิศวกรรมเคมี (Chemical Engineering)
  • วิศวกรรมปิโตรเลียม (Petroleum Engineering)
         คณิตศาสตร์ คือ ศาสตร์ที่มุ่งค้นคว้าเกี่ยวกับ โครงสร้างนามธรรมที่ถูกกำหนดขึ้นผ่านทางกลุ่มของสัจพจน์ซึ่งมีการให้เหตุผลที่แน่นอนโดยใช้ตรรกศาสตร์สัญลักษณ์ และสัญกรณ์คณิตศาสตร์ เรามักนิยามโดยทั่วไปว่าคณิตศาสตร์เป็นสาขาวิชาที่ศึกษาเกี่ยวกับรูปแบบและโครงสร้างการเปลี่ยนแปลง, และปริภูมิกล่าวคร่าวๆ ได้ว่าคณิตศาสตร์นั้นสนใจ “รูปร่างและจำนวน” เนื่องจากคณิตศาสตร์มิได้สร้างความรู้ผ่านกระบวนการทดลอง บางคนจึงไม่จัดว่าคณิตศาสตร์เป็นสาขาของวิทยาศาสตร์
     
        ทักษะทางคณิตศาสตร์ มีดังนี้


  • ทักษะการจำแนกประเภท (Classifying) คือ ความสามารถในการแบ่งประเภทของสิ่งของ
  • ทักษะการเปรียบเทียบ (Comparing) คือ ความสามารถในการบอกว่าสิ่งใดมีขนาดใหญ่กว่า หรือเล็กกว่าของอีกสิ่ง 
  • ทักษะการจัดลำดับ (Ordering) คือ ความสามารถในการเรียงลำดับเหตุการณ์ก่อนหลัง
  • ทักษะการวัด (Measurement) คือ ความสามารถในการเปรียบเทียบรูปแบบหนึ่ง
  • ทักษะการนับ (Counting) เด็กปฐมวัยชอบการนับแบบท่องจำโดยไม่เข้าใจความหมาย คือการท่องจาก 1 ไปถึง 10 โดยอาศัยการจำ แต่แท้จริงแล้วควรส่งเสริมให้พวกเขานำและเชื่อมโยงกับสิ่งของได้ 
มาตรฐานการเรียนรู้ของการัดการเรียนรู้แบบ STEM
  1. มาตรฐานการเรียนรู้ทางวิทยาศาสตร์ ได้แก่
  • วิทยาศาสตร์กายภาพ (Physical science)
  • วิทยาศาสตร์ชีวิต (Life science)
  • วิทยาศาสตร์โลก (Earth science)
     2. มาตรฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ได้แก่
  • จำนวนและการดำเนินการ
  • พีชตณิต (Algebra)
  • เรขาคณิต (Geometry)
  • การวัด (Measurement)
  • การวิเคราะห์ข้อมูล (Data analysis)
รูปภาพประกอบขณะทำกิจกรรมการเรียนการสอนออนไลน์ผ่าน App Zoom



    การประเมินผู้สอน : อาจารย์เป็นห่วงนักศึกษาทุกคน คอยถามข่าวอยู่ตลอดเวลา และถึงจะเป็นการสอนออนไลน์แต่อาจารย์ก็สอนสนุก เข้าใจง่าย มีกิจกรรมมาให้ทำเหมือนอยู่ในห้องเรียนจริงๆ
การประเมินเพื่อน : เพื่อนๆ อาจจะยังไม่ชินกับการเรียนออนไลน์สักเท่าไหร่ และบางคนมีปัญหาด้านอินเทอร์เน็ต แต่เพื่อนๆ ก็สามารถแก้ไขปัญหาจนสามารถเข้ามาเรียนออนไลน์ได้
การประเมินตนเอง : ยังไม่ค่อยชินกับการเรียนอนไลน์ ไม่ค่อยมีสมาธิในการเรียน เนื่องจากสภาพแวดล้อมรอบตัวที่อยู่กับสมาชิกครอบครัวหลายคน เสียงดีงแทรกบ้างและมีปัญหาด้านอินเทอร์เน็ตในบางครั้ง

 บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 9
วันที่ 10 เดือน เมษายน พ.ศ. 2563

👯👮👯👮👯👮👯👮👯👮👯👮👯👮👯👮
👯 ความรู้ที่ได้รับ 👯

การใช้ "ความคิด" สิ่งที่ควบคุมคำพูดและการกระทำให้ถูกทาง
จงระวังความคิดเพราะความคิดจะกลายเป็นคำพูด
จงระวังคำพูดเพราะคำพูศจะกลายเป็นการกระทำ
จงระวังการกระทำเพราะการกระท้าจะกลายเป็นนิสัย
จงระวังนิสัยเพราะนิสัยจะกลายเป็นบุคลิก
จงระวังบุคลิกเพราะบุคลิกจะกลายเป็นชะตากรรม (มหาตมะคานธี)

หนึ่งปีมีสิบสองเดือน
หนึ่งปีนั้นมีสิบสองเดือน อย่าลืมเลือนจำไว้ให้มั่น
หนึ่งสัปดาห์นั้นมีเจ็ดวัน อาทิตย์ จันทร์ อังคาร พุธ พฤหัส ศุกร์ เสาร์ 

บทบาทของครูกับการจัดประสบการณ์ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์พัฒนาความคิดสร้างสรรค์
  1. ศึกษาและทำความเข้าใจเกี่ยวกับเนื้อหาและทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์เพื่อวางแผนการจัดกิจกรรมได้อย่างเหมาะสมกับพัฒนาการของเด็ก
  2. ให้โอกาสเด็กได้เล่นเพราะการเล่นเป็นงานอย่างหนึ่งซึ่งการเล่นจะช่วยให้เด็กคิดและสร้างสรรค์ครูจะต้องจัดเตรียมกิจกรรมวัสดุอุปกรณ์ต่างๆที่ท้าทายเชิญชวนให้เด็กเข้ามาเล่นเข้ามาค้นคว้าทดลองเช่นหนังสือและรูปภาพเกี่ยวกับคำศัพท์ทางคณิตศาสตร์การเล่นเลียนแบบชีวิตประจำวันและเกมนับจำนวนเป็นต้น
บทบาทของผู้ปกครองกับการส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์เพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์
ห็นคุณค่าของการฝึกให้เด็กคิดหรือเล่นสนุกกับคณิตศาสตร์อยากอิสระ ซึ่งจะทำให้เด็กริเริ่มสร้างสรรค์ผลงานออกมาอย่างกว้างขวาง การตอบคำถามของเด็กหรือถามเด็กเกี่ยวกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน
  • วันนี้ลูกอยากช่วยคุณแม่ทำอะไร
  • ลองทายซิวันนี้เป็นวันอะไร
ถ้าผู้ปกครองเอาใจใส่ให้ความสำคัญกับการตอบคำถาม พูดคุย สนทนากับเด็กอย่างสม่ำเสมอ โดยไม่แสดงความพร้อมและสนุกไปกับเด็ก จะช่วยให้เด็กมีความกระตือรือร้นต้องการเรียนรู้ไม่มีที่สิ้นสุด

สาระที่ควรเรียนรู้
  • เรื่องใกล้ตัวเด็ก
  • เรื่องที่เด็กสนใจ
  • เราใช้มายแมบปิ้งเป็นเครื่องมือเพื่อแตกความคิด/วิเคราะห์เนื้อาสาระ
  • สาระการเรียนรู้ + ประสบการณืสำคัญ, เราใช้ 2 อย่างนี้มาออกแบบกิจกรรมให้สอดคล้องกับวิธีการเรียนรู้ของเด็ก

รูปภาพประกอบขณะทำกิจกรรมการเรียนการสอน


กิจกรรมที่ทำขณะทำกิจกรรมการเรียนการสอน


กิจกรรมที่ 1 วาดต่อเติมภาพจากเลข 1-9


กิจกรรมที่ 2 ตัดกนะดาษให้เป็นรูปเลขาคณิตแล้วนำมาต่อกันเป็นรูปตามจินตนาการ


การประเมินผู้สอน : เข้าสอนตรงเวลา น้ำเสียงชัดเจน แต่งตัวเหมาะสม และอธิบายเนื้อหาสาระได้เข้าใจง่าย
การประเมินเพื่อน : เพื่อนเข้าเรียนครบและตรงเวลา ตั้งใจเรียน
การประเมินตนเอง : เข้าเรียนตรงเวลา ตั้งใจเรียนและทำกิจกรรมที่อาจารย์มอบหมาย
บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 6
วันที่ 20 เดือน มีนาคม พ.ศ. 2563

🙅🙆🙇🙈🙉🙊🙋🙌🙍🙎🙏🙅🙆🙇🙈🙉🙊🙋🙌🙍🙎🙏🙅


ความรู้ที่ได้รับ
      วันนี้เป็นการเรียนออนไลน์ครั้งแรก อาจารย์พูดคุยถึงเรื่องสถานการณ์โควิด-19 บอกให้นักศึกษาทุกคนดูแลตัวเองให้ดีๆ และได้พูดคุยถึงเนื้อหาต่างๆ ในการเรียน ว่าต้องมีการปรับให้เหมาะสมต่อสภาพปัจจุบัน เช่น กิจกรรมที่วางแผนไว้ว่าจะทำในห้องก็ต้องมาปรับวิธีใหม่ ให้สามารถเรียนและทำได้เหมือนอยู่ในห้องเรียนจริงๆ
       อาจารย์สอนการส่งเสริมทักษะฟังเสียง และนิทานคำคล้องจองและปริศนาคำทาย แล้วมอบหมายงานให้ไปทำส่งภายในคาบ

     กิจกรรมที่ 1 คือ นิทานคำคล้องจองและปริศนาคำทาย ทำร่วมกันกับ

  1. นางสาวสุพรรษา มีอุตส่าห์
  2. นางสาววรรณภา ผังดี
  3. นางสาวพิมพ์สุดา จันทะภา


กิจกรรมที่ 2 คือ การส่งเสริมทักษะฟังเสียง ทำร่วมกันกับ
  1. นางสาวสุพรรษา มีอุตส่าห์
  2. นางสาววรรณภา ผังดี
  3. นางสาวพิมพ์สุดา จันทะภา

การประเมินผู้สอน : อาจารย์สอนออนไลน์ครั้งแรกอาจจะยังไม่พร้อมในเรื่องของ Application แต่ก็สามารถแก้ปัญหาและสอนนักศึกษาได้เป็นอย่างดี

การประเมินเพื่อน : เพื่อนยังงงกับการเรียนออนไลน์ผ่าน App Zoom บ้าง แต่ก็สามารถเข้ามาใช้งานและเรียนได้ทันเวลา
การประเมินตนเอง : วันนี้เป็นการเรียนออนไลน์ครั้งแรกมีปัญหาเรื่องอินเทอร์เน็ต เนื่องจากกำลังเดินทางกลับบ้านที่ขอนแก่น แต่ก็สามารถเข้ามาเรียนกับอาจารย์และเพื่อนคนอื่นๆ ได้ทันเวลา

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 10
วันที่ 17 เดือน เมษายน พ.ศ. 2563

👯👮👯👮👯👮👯👮👯👮👯👮👯👮👯👮



ความรู้ที่ได้รับ

🔥🔥คำศัพท์น่ารู้🔥🔥
  1. จังหวะช้า Slow beat
  2. จังหวะเร็ว Tempo
  3. การพัฒนาแบบองค์รวม Holistic development
  4. ความรู้ใหม่ New knowledge
                             บทที่ 8 การเคลื่อนไหวและจังหวะสำหรับเด็กปฐมวัย   
         การเคลื่อนไหวและจังหวะ หมายถึง การที่ร่างกายและจิตใจมีปฏิกิริยาตอบสนองต่อดนตรีและจังหวะ ซึ่งจังหวะนั้น หมายถึง อัตตราช้า เร็วของการเคลื่อนไหว ซึ่งเกิดจากการตบมือ เคาะ ตีกลอง ฉิ่ง ฉาบ เป็นต้น เด็กที่ขาดทักษะทางการเคลื่อนไหวและจังหวะ ควรได้รับการกระตุ้นด้วยปัญหา เพื่อให้เด็กค้นหาคำตอบด้วยตนเอง
องค์ประกอบของการเคลื่อนไหว
  1. การรู้จักส่วนต่างๆของร่างกาย (13cvdy percussion)
  2. บริเวณและเนื้อที่
  3. ระดับของการเคลื่อนไหว (Level)
  4. ที่ศทางของการเคลื่อนไหว (Directicut)
  5. การฝึกจังหวะ (Rhythm) 5. 1 การทำจึงหาะด้วยการใช้ส่วนต่างๆของร่างกาย 5. 2 การทำจังหวะด้วยการเปล่งเสียง 5. 3 การทำจังหวะด้วยการใช้เครื่องเคาะจังหวะเครื่องมือทุกชนิด 5. 4 การทำจังหวะด้วยการเคลื่อนไหว
  • การเคลื่อนไหวส่งผลทำให้กล้ามเนื้อมัดเล็กมัดใหญ่แข็งแรง
  • การเคลื่อนไหวควบคู่ไปกับจังหวะ เช่น
→ กล้ามเนื้อมัดใหญ่ คือ การเดิน การวิ่ง การก้าว การกระโดด โดยใช้ประสาทสัมพันธ์กับตา
→ กล้ามเนื้อมัดใหญ่ ➡️ แขนสัมพันธ์กับตา ➡️ขว้าง, ปา, เวียง
→ กล้ามเนื้อมัดเล็ก ➡️นิ้วมือสัมพันธ์กับตา ➡️ หยิบของ ฉีก ตัด ปะ วาด

  • เครื่องเคาะจังหวะที่แตกต่างกัน เช่น ดีด สี ตี เป่า เราใช้เครื่องดนตรีที่หลากหลายชนิด เพราะจะได้ตอบสนองความต้องการของเด็กที่มีความต้องการที่หลากหลาย และการใช้จังหวัดเหล่านี้ทำให้เด็กเกิดความเคลื่อนไหว เด็กมีสมาธิตั้งใจฟังและปฏิบัติตอบสนองตามเงื่อนไขได้ถูกต้อง
  • เราใช้ดนตรีและจังหวะมาเพื่อช่วยให้เด็กได้มีโอกาสฟังเสียง ทำให้เด็กเกิดการเรียนรู้ การพัฒนาสมอง
         จุดมุ่งหมายของการเคลื่อนไหว ประกอบด้วย
  1. ด้านร่างกาย
  2. ด้านสังคม
  3. ด้านอารมณ์ - จิตใจ ความรู้สึกต่างๆ ทั้งของ ตนเองและผู้อื่น
  4. ด้านสติปัญญา ได้สาระการเรียนรู้ต่างๆ เช่น คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ฯ
การเคลื่อนไหวกับการพัฒนาสมอง การบริหารสมองเป็นการเชื่อมโยงระหว่างการเคลื่อนไหวของร่างกาย การทำงานของสมอง และสมองเติบโตได้ถึง 80% จากการพัฒนาการมีประสบการณ์การเรียนรู้ต่างๆ ทำให้สมองเจริญเติบโต สมองเป็นรากฐานที่สำคัญของการเรียนรู้
         สมอง : ความสำคัญ 
         "หัวใจสำคัญของการเรียนรู้ของคนทำงานยุคใหม่ คือ การปลดปลอยพลังสมองออกมา"
การทำงานของสมอง สมองเปรียบเสมือนแผงสวิชฝวืไฟฟ้าที่สลับซับซ้อนอยู่ในกระโหลกศีรษะ เป็นไขมัน มีเยื่อหุ้มอยู่ด้านนอก บรรจุเซลล์ประสาทหนึ่งแสนล้านเซลล์ เรียกว่า นิวโรน
ความสำคัญของการพัฒนาสมอง
  • เป็นรากฐานของการพัฒนาทั้งปวง
  • เป็นการพัฒนาคุณภาพมนุษย์ที่ยั่งยืน
  • เป็นช่วงเวลาสำคัญและจำเป็นที่สุดในการพัฒนาสมอง
  • เป็นการลงทุนที่คุ้มค่า
  • สังคมต้องการคนดีและมีความคิดสร้างสรรค์คนเก่งมีความฉลาดทางอารมณ์
  • มนุษย์ใช้ประโยชน์ของสมองเพียง 10%
  • สมองไม่ได้ถูกกำหนดให้โง่
เกร็ดความรู้
ทุกครั้งของการสอนต้องมีการขยายความรู้จากภาพสื่อการสาธิตการฝึก ให้เด็กนำกลับมา

รูปภาพประกอบขณะทำกิจกรรมการเรียนการสอน





กิจกรรมที่ได้รับมอบหมายขณะทำกิจกรรมการเรียนการสอน

1. โยคะสำหรับเด็กปฐมวัย

                                          

2. การออกแบบท่าเต้นประกอบเพลงสำหรับเด็กปฐมวัย


การประเมินผู้สอน : ตรงต่อเวลา แต่งตัวสวยงาม อธิบายเนื้อหาเข้าใจง่าย ชอบกิจกรรมที่อาจาย์กำหนดให้ทำในคาบ
การประเมินเพื่อน : เข้าเรียนตรงเวลา ตั้งใจเรียน ตั้งใจทำกิจกรรมที่ได้รับมอบหมาย
การประเมินตนเอง : เข้าเรียนตรงเวลา ตั้งใจฟังและจดบันทึกตามอาจารย์ ตั้งใจทำกิจกรรมที่ได้รับหมอบหมายเป็นอย่างดี