วันเสาร์ที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2563

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 11
วันที่ 24 เดือน เมษายน พ.ศ. 2563

😈😈 ความรู้ที่ได้รับ 😈😈

บทที่ 9 การวัดและประเมินพัฒนาการทางความคิดสร้างสรรค์

           การวัดและประเมินพัฒนาการทางความคิดสร้างสรรค์ เป็นกระบวนการที่่่่่่่่่่่่่่่่่่่่่่่่่่่่่่่่่่่ต่อเนื่อง โดยถือเป้น่วนหนึ่งของกิจกรรมที่จัดให้เด็กเรียนรู้ในแต่ละครั้ง เพื่อนำข้อมูลหรือผลที่ได้มาปรับปรุงและพัฒนาการจัดการสอนให้เหมาะสมกับพัฒนาการของเด็กรวมทั้งความคิดสร้างสรรค์ด้วย
          หลักของการวัดและประเมินผลพัมนาการ
1. บรรยากาศของการวัดและประเมินผลต้องผ่อนคลาย ไม่เคร่งเครียดจนทำให้เด็กเกิดความเครียด
2. ต้องไม่ใช่การแข่งขันหรือการกระทำที่มีถูกมีผิด
3. ครูไม่นำผลการวัดหรือการทดสอบมาเปรียบเทียบกับเด็กคนอื่น
4. นำผลที่ได้จากการวัดมาวิเคราะห์เพื่อจัดกิจกรรมส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ของเด็กได้อย่างเหมาะสม
          ความสำคัญและคุณค่าของการวัดและประเมินความคิสร้างสรรค์ เพื่อนำผลมาจัดประสบการณ์และกิจกกรรมให้สอดคล้องเหมาะสมกับพัมนาความคิดสร้างสรรค์สำหรับเด็กต่อไป
          เทคนิควิธีวัดความคิดสร้างสรรค์
1. การสังเกต หมายถึง การสังเกตพฤษติกรรมของบุคคลที่แสดงออกเชิงความคิดสร้างสรรค์
2. การวาดภาพ หมายถึง การให้เด็กวาดภาพจากสิ่งเร้าที่กำหนด เป็นการถ่ายทอดความคิดสร้างสรรค์ออกมาเป็นรุปธรรมชาติและสามารถสื่อความหมายได้
3. รอยหยดหมึก หมายถึง การให้เด็กดูภาพหยดหมึกแล้วคิดตอบจากภาพที่เด็กเห็น
4. การเขียนเรียงความและงานศิลปะ หมายถึง การให้เขียนเรียงความจากหัวข้อที่กำหนด และการประเมินจากงานศิลปะของนักเรียน
5.. แบบทดสอบ หมายถึง การให้เด็กทำแบบทดสอบความคิดสร้างสรรค์มาตรฐาน ซึ่งเป็นผลมาจากวิจัยเกี่ยวกับธรรมชาติของความคิดสร้างสรรค์
         กิจกกรมที่ทำระหว่างเรียน คือ นำเสนอสื่อะรรมชาติ 4 อย่าง และแต่ละอย่างทำอย่างไร พัฒนาความคิดสร้างสรรค์อย่างไร ซึ่งดิฉันได้ตอบดังนี้



          รูปภาพประกอบ๘ณะทำการเรียนการสอนผ่าน App Zoom




การประเมินผู้สอน : อาจารย์อธิบายเข้าใจง่าย มีเทคนิคที่ทำให้นักศึกษาจำข้อมูลได้แม่นยำ ใส่ใจนักศึกษาทุกคน
การประเมินเพื่อน : เพื่อนเข้าเรียนใน App Zoom ตรงเวลา ร่วมแสดงความคิดเห็น ตอบคำถาม และทำกิจกรรมตามที่ได้รับมอบหมาย
การประเมินตนเอง : เข้าเรียนตรงเวลา ตั้งใจฟังขณอาจารยฺอธบิยเนื้อหา ร่วมแสดงความคิดเห็น ตอบคำถาม และทำกิจกรรมตามที่ได้รับมอบหมาย 
บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 5
วันที่ 9 เดือน มีนาคม พ.ศ. 2563

💀💀💀💀💀💀💀💀💀💀💀💀💀💀💀💀💀💀💀💀💀💀💀💀💀💀💀💀

👳👳 ความรู้ที่ได้รับ 👳👳

     👉👉👉 เราต้องเป็นคนสร้างสรรค์ กล้าลงมือกระทำ พากเพียรให้เกิดความคล่องแคล่ว ยืดหยุ่นและคิดบวก สร้างชิ้นงานใหม่หรือต่อยอดงานเดิม
      ความคิดสร้างสรรค์ (Creative) คือ 
     Torrance (1962 : 16) กล่าวว่า ความคิดสร้างสรรค์เป็นความสามารถของบุคคลในการคิดสร้างสรรค์ผลิตผล หรือสิ่งแปลกๆ ใหม่ๆ ที่ไม่รู้จักมาก่อน ซึ่งสิ่งต่างๆ เหล่านี้อาจจะเกิดจากการรวมความรู้ต่างๆ ที่ได้รับจากประสบการณ์แล้วเชื่อมโยงกับสถานการณ์ใหม่ๆ สิ่งที่เกิดขึ้นแต่ไม่จำเป็นสิ่งสมบูรณ์อย่างแท้จริง ซึ่งอาจออกมาในรูปของผลผลิตทางศิลปะ วรรณคดี วิทยาศาสตร์
     Wallach and Kogan (1965 : 13-20) ให้ความหมายของความคิดสร้างสรรค์ว่า หมายถึงความคิดโยงสัมพันธ์ (Association) คนที่มีความคิดสร้างสรรค์ คือ คนที่สามารถจะคิดอะไรได้อย่างสัมพันธ์เป็นลูกโซ่
    สรุป ความคิดสร้างสรรค์ คือ การคิดสร้างสรรค์สิ่งที่แปลกใหม่ขึ้นมาหรือต่อยอดจากความคิดเดิม โดยใช้ประสบการณ์เดิมเชื่อมโยงกับประสบการณ์ใหม่ เพื่อให้ได้ความคิดหรือผลงานชิ้นใหม่ขึ้นมา
     
     Guilford (1967 : 145-151) ได้ให้รายละเอียดเกี่ยวกับองค์ประกอบของความคิดสร้างสรรค์ไว้ดังนี้
  1. ความคิดริเริ่ม (Originality) หมายถึง ความคิดแปลกใหม่ไม่ซ้ำกันกับความคิดของคนอื่น และแตกต่างจากความคิดธรรมดา ความคิดริเริ่มอาจเกิดจากการคิดจากเดิมที่มีอยู่แล้วให้แปลกแตกต่างจากที่เคยเห็น หรือสามารถพลิกแพลงให้กลายเป็นสิ่งที่ไม่เคยคาดคิด ความคิดริเริ่มอาจเป็นการนำเอาความคิดเก่ามาปรุงแต่งผสมผสานจนเกิดเป็นของใหม่
  2. ความคิดคล่องแคล่ว (Fluency) หมายถึง ปริมาณความคิดที่ไม่ซ้ำกันในเรื่องเดียวกัน
  3. ความคิดยืดหยุ่น (Flexibility) หมายถึง ประเภทหรือแบบของการคิด
  4. ความคิดละเอียดละออ (Elaboration) หมายถึง ความคิดในรายละเอียดเป็นขั้นตอน สามารถอธิบายให้เห็นภาพชัดเจน หรือเป็นแผนงานที่สมบูรณ์ขึ้น
     EF = (Executive Function) คือ การทำงานของสมองด้านการจัดการ ซึ่งมีอิธิพลต่อความสำเร็จในชีวิต โดยอาศัยกระบวนทางปัญญา (cognitive process) ต่างๆ เช่น การยับยั้งความคิด การแก้ปัญหา การวางเป้าหมาย การวางแผนไปสู่เป้าหมายที่วางไว้ (goal - directed behavior)
   EF (Executive Function)  ที่สำคัญมีทั้งหมด 9 ด้าน
     1. ทักษะความจำที่นำมาใช้งาน (Working Memory) คือ ทักษะจำหรือเก็บข้อมูลจากประสบการณ์ที่ผ่านมาและดึงมาใช้ประโยชน์ตามสถานการณ์ที่พบเจอ
     2. ทักษะการยับยั้งชั่งใจ-คิดไตร่ตรอง (Inhibitory Control) คือ ความสามารถในการควบคุมความต้องการของตนเองให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม เด็กที่ขาดความยับยั้งชั่งใจจะเหมือน "รถที่ขาดเบรก" อาจทำสิ่งใดโดยไม่คิด มีปฏิกิริยาในทางที่ก่อให้เกิดปัญหาได้
     3. ทักษะการยืดหยุ่นความคิด (Shift Cognitive Flexibility) คือ ความสามารถในการยืดหยุ่นหรือปรับเปลี่ยนให้เหมาะสมกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นได้ ไม่ยึดตายตัว
     4. ทักษะการใส่ใจจดจ่อ (Focus) คือ ความสามารถในการใส่ใจจดจ่อ มุ่งความสนใจอยู่กับสิ่งที่ทำอย่างต่อเนื่องในช่วงเวลาหนึ่ง
     5. การควบคุมอารมณ์ (Emotion Control) คือ ความสามารถในการควบคุมแสดงออกทางอารมณ์ให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม เด็กที่ควบคุมอารมณ์ตัวเองไม่ได้มักเป็นคนโกรธเกรี้ยว ฉุนเฉียวและอาจมีอาการซึมเศร้า
     6.การประเมินตัวเอง (Self-Monitoring) คือ การสะท้อนการกระทำของตนเอง รู้จักตนเอง รวมถึงการประเมินการงานเพื่อหาข้อบกพร่อง
     7. การริเริ่มและลงมือทำ (Initiating) คือ ความสามารถในการริเริ่มและลงมือทำตามที่คิด ไม่กลัวความล้มเหลว ไม่ผัดวันประกันพรุ่ง
     8. การวางแผนและการจัดระบบดำเนินการ (Planning and Organizing) คือ ทักษะการทำงาน ตั้งแต่การตั้งเป้าหมาย การวางแผน การมองเห็นภาพรวม ซึ่งเด็กที่ขาดทักษะนี้จะวางแผนไม่เป็น ทำให้งานมีปัญหา
     9. การมุ่งเป้าหมาย (Goal-Directed Persistence) คือ ความพากเพียรมุ่งสู่เป้าหมาย เมื่อตั้งใจและลงมือทำสิ่งใดแล้ว ก็มีความมุ่งมั่นอดทน ไม่ว่าจะมีอุปสรรคใดๆ ก็พร้อมฝ่าฟันให้สำเร็จ

      💚💚💚 อาจารย์ให้ทำกิจกรรมความคิดสร้างสรรค์ ดังรูปภาพกิจกรรมต่างๆ ด้านล้าง ⇓⇓⇓ และสามารถนำไปปรับใช้กับเด็กได้ เพราะ มีเงื่อนไข ทำให้เด็กได้คิดแก้ไขปัญหาและต่อยอดความรู้เดิม

อาจารย์กำลังอธิบายขั้นตอนการทำกิจกรรม


กิจกรรมที่ 1 วาดเส้นตามความคิดสร้างสรรค์และระบายสีส่วนที่เส้นตัดกัน


กิจกรรมที่ 2 วาดภาพต่อเติมจากเส้นที่กำหนดให้



กิจกรรมที่ 3 ระบายสีสามสีที่แต่ละช่องโดยใช้ความคิดสร้างสรรค์



กิจกรรมที่ 4 แตะสัมผัส



การประเมินผู้สอน : ผู้สอนมีกิจกรรมแปลกใหม่ไม่ซ้ำกันมาให้ทำในทุกสับดาห์
การประเมินเพื่อน : เพื่อนเข้าเรียนตรงเวลา แต่งตัวเรียบร้อย ทำกิจกรรมต่างๆ ด้วยความตั้งใจ
การประเมินตนเอง : เข้าเรียนตรงเวลา แต่งตัวเรียบร้อย ตื่นเต้นและสนุกที่ได้ทำกิจกรรมที่อาจารย์จัดขึ้นในระหว่างเรียน